เล็บขบเกิดจากอะไร
ใคร ๆ ก็รู้ใช่ไหมว่า “เล็บ” มีหน้าที่ป้องกันอันตรายให้นิ้ว และส่วนนี้จะไม่มีเส้นประสาทอยู่ ทำให้เราไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเกิดโรคขึ้นกับเล็บ แต่ถ้าเกิดโรคนั้นกินเข้าไปถึงผิวหนังแล้วล่ะก็ “เล็บ” ก็สร้างความปวดร้าวให้เจ้าของเล็บสุด ๆ เลยล่ะ โดยเฉพาะ “เล็บขบ“ (Unguis Incarnatus) โรคเล็บที่เกิดขึ้นได้บ่อยมาก ๆ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิด “เล็บขบ” ได้ก็คือ
1. การใส่รองเท้าที่บีบมากเกินไป
เพราะจะทำให้เนื้อที่อยู่ด้านข้างของเล็บถูกบีบเข้ามา เล็บก็เลยไปกดเนื้อด้านข้าง เมื่อเล็บงอกมันก็จะงอกลึกลงไปในเนื้อ ทำให้รู้สึกเจ็บปวด นอกจากนี้ การใส่รองเท้าส้นสูงเกินไป ปลายเท้าแหลมเกินไป ก็ทำให้เท้าถูกบีบจนเล็บงอกตามปกติไม่ได้ ต้องกินเข้าไปในเนื้อ
2. การตัดเล็บไม่ถูกวิธี
หลายคนตัดเล็บด้านข้างเป็นมุมแหลมชิดเนื้อ หรือลึกเกินไปนั่นเอง ทำให้เล็บงอกใหม่ไปทิ่มที่ซอกเล็บ จนเกิดแผลและมีอาการปวดตามมา หรือบางคนชอบแต่งเล็บให้โค้งเข้าในซอกเล็บมากเกินไป และชอบแคะ ขูด งัดซอกเล็บบ่อย ๆ
3. อุบัติเหตุ
เช่น ปลายนิ้วเท้าชอบไปชนอะไรบ่อย ๆ ทำให้เล็บฉีกขาดแทงเข้าไปในซอกเล็บได้ หรือการเล่นกีฬา เช่น เทนนิส แบดมินตัน ฟุตบอล บาสเกตบอล ซึ่งทำให้กระดูกนิ้วทำงานหนัก
4. การมีเล็บเท้าที่กว้างกว่าปกติ
หรือเกิดจากการที่นิ้วเท้ามาซ้อนเกย หรือเบียดกัน
5. การติดเชื้อราที่เล็บ
เล็บขบ รักษาให้หายขาดได้หรือไม่
อาการเล็บขบ หากปล่อยไว้ไม่ยอมรักษาให้หาย เล็บของคุณอาจติดเชื้อได้ สัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าเล็บของคุณติดเชื้อคือมีอาการปวดตุบๆ มีหนอง และมีกลิ่น ถ้าไม่แน่ใจว่าเล็บของคุณติดเชื้อหรือไม่ ก็ควรไปพบแพทย์ เนื่องจากหากปล่อยไว้อาจจะทำให้คุณถึงขั้นที่จะต้องตัดนิ้วหรือติดเชื้อในกระแสเลือดได้เลยนะ
เรามีคลินิกดีๆ มาแนะนำหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับเล็บขบที่รักษายังไงก็ไม่หายขาดสักที นั้นก็คือ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” ที่มีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านโรคผิวหนังโดยเฉพาะนำทีมโดย พญ.มริญญา ผ่องผุดพันธ์ แพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ตจ.แพทย์ ที่พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำคุณ วันนี้เราจะพาคุณไปไขข้อสงสัยของเจ้า “เล็บขบ หรือ เล็บคุด” กันว่าเป็นอย่างไร รักษาได้ไหม ไปดูกันเลย
เล็บขบ หรือ เล็บคุด (Ingrown Nail)
เล็บขบ หรือ เล็บคุด คือ โรคเล็บชนิดหนึ่งซึ่งใช้อธิบายถึงภาวะที่เล็บงอกหรือทิ่มเข้าไปที่บริเวณผิวหนังหรือเนื้อใต้เล็บจนทำให้เกิดอาการ
- เจ็บ
- ปวด
- บวม
- แดง
- เป็นหนอง
เล็บขบสามารถเกิดขึ้นกับนิ้วได้ทุกนิ้วทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้า แม้จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่ก็สามารถสร้างความเจ็บปวดและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยอย่างมาก และหากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจนำมาซึ่งการติดเชื้อได้
เล็บขบนิ้วมือ (Ingrown Fingernail)
เป็นภาวะเล็บขบที่เกิดขึ้นกับนิ้วมือ พบได้ไม่บ่อยเท่าเล็บขบนิ้วเท้า มักเกิดจาก
- การตัดเล็บที่ไม่ถูกวิธี
- การได้รับบาดเจ็บบริเวณนิ้วมือ
- การกัดเล็บ
ซึ่งทำให้เล็บมีลักษณะผิดรูปไปจากเดิมและงอกทิ่มเข้าเนื้อใต้เล็บหรือด้านข้างเล็บ
เล็บขบนิ้วเท้า (Ingrown Toenail)
เป็นภาวะเล็บขบที่เกิดขึ้นกับนิ้วเท้า พบได้บ่อยกว่านิ้วมือ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับนิ้วโป้งเท้า เล็บขบนิ้วเท้าเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น
- การตัดเล็บผิดวิธี
- การสวมรองเท้าที่รัดแน่นจนเกินไป
- รวมถึงการเกิดอุบัติเหตุบริเวณนิ้วเท้า
4 อาการ เล็บขบ ที่ต้องรีบพบแพทย์
ผู้ป่วยที่เป็นเล็บขบมักรู้สึกเจ็บปวดบริเวณนิ้วมือหรือนิ้วเท้าที่มีอาการ ซึ่งอาจรู้สึกเจ็บที่ด้านใดด้านหนึ่งของเล็บหรือเจ็บทั้งสองด้าน หากมีอาการรุนแรงจะทำให้รู้สึกเจ็บเวลาเดิน อาจมีเลือดออกหรือเป็นหนองหรือมีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อที่นิ้ว รวมถึงอาจพบอาการร่วมอื่นๆ ดังนี้
1. เล็บขบหนอง
ผู้ป่วยสามารถมองเห็นก้อนหนองหรือการก่อตัวของของเหลวบริเวณรอบๆ ที่เป็นเล็บขบได้ ซึ่งแสดงถึงภาวะการติดเชื้อของเล็บ
2. เล็บขบอักเสบ
มีอาการบวมแดงรอบๆ เล็บมือหรือเล็บเท้า ผู้ป่วยมักรู้สึกเจ็บปวดบริเวณเล็บขบทั้งสองด้านหรือด้านใดด้านหนึ่ง
3. เล็บขบเหม็น
เมื่อเป็นเล็บขบนานๆ สามารถเกิดการติดเชื้อได้บริเวณเนื้อมุมเล็บ เนื่องจากเล็บขบจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเล็บ ทำให้เชื้อต่างๆ เข้าไปอาศัย และทำให้เกิดกลิ่นได้
4. เล็บขบมีเนื้องอก
เป็นลักษณะของเนื้อที่ปูดออกมาข้างเล็บ ซึ่งเกิดจากการอักเสบ ส่วนใหญ่จะหายได้เองเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
หากพบว่าเล็บเท้าทิ่มลงไปที่ผิวหนังหรือมีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น มีอาการบวมแดงหรือมีหนอง ควรรับการรักษาทางการแพทย์อย่างถูกต้อง ไม่ควรทำการรักษาเล็บขบด้วยตนเอง เนื่องจากอาจทำให้อาการแย่ลงได้
การรักษาด้วยการผ่าตัดที่ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic”
เมื่อเล็บขบอักเสบมากขึ้นจนมีอาการ บวม เจ็บ และมีหนอง แปลว่าน่าจะมีการติดเชื้อเกิดขึ้น แบบนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาจะดีกว่า การรักษาจะประกอบไปด้วยการทานยาปฏิชีวนะ การผ่าตัดเล็กเพื่อนำบางส่วนของเล็บออก ในบางกรณีอาจต้องนำพื้นเล็บบางส่วน หรือเนื้อข้างเล็บที่บวมโตขึ้นมาเบียดเล็บออก
ถ้าเล็บขบเป็นแบบเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ติดเชื้อบ่อย หรือเคยรับการรักษาด้วยการผ่าตัดนำบางส่วนของเล็บออกแล้วแต่ยังเป็นซ้ำ อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อนำรากเล็บออกที่ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” ทางแพทย์จะทำการผ่าตัดโดยจะต้องมีแผลเพิ่มเติมที่โคนเล็บประมาณ 0.5 เซนติเมตร หลังการรักษาด้วยวิธีนี้ เล็บจะไม่งอกออกมาอีก (เฉพาะส่วนที่ขบ) เนื่องจากเรานำเนื้อส่วนที่เป็นตัวสร้างเล็บออกไปแล้ว ซึ่งเล็บจะแคบลงนิดหน่อยแต่ช่วยให้ไม่เป็นเล็บขบอีกหรือเรียกว่าอาการเล็บขบจะหายขาดนั้นเอง
แอดไลน์ปรึกษาอาการ เล็บขบ คลิกที่นี่
การผ่าตัดนำเล็บบางส่วนออกที่ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” ทำอย่างไร
- ทางแพทย์จะทำความสะอาดเท้าทั้งเท้าก่อน จากนั้นจะฉีดยาชาที่โคนนิ้วหัวแม่เท้าหรือนิ้วที่เป็นเล็บขม รอประมาณ 5-10 นาทีให้ยาชาออกฤทธิ์ก่อน จากนั้นจะใช้กรรไกรคม ๆ ตัดเล็บบางส่วนที่ขบออก ส่วนใหญ่จะเป็น 1/4 หรือ 1/5 ของความกว้างเล็บทั้งหมด
- หลังผ่าตัดคุณสามารถกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล โดยจะได้รับยาปฏิชีวนะ และยาแก้ปวดกลับไปทานที่บ้าน รวมถึงยาลดบวมในบางรายแล้วแต่กรณี เมื่อถึงบ้านแนะนำให้คุณยกขาให้ขึ้นสูงบ่อย ๆ อย่านั่งห้อยขา ประคบเย็นที่ส่วนเท้าได้ และควรเลือกรองเท้าเปิดด้านหน้า สบาย ๆ เตรียมไว้ล่วงหน้า หลังผ่าตัดจะได้ใช้ได้เลย
- ผ้าก๊อซจะปิดไว้ 2-3 วัน เมื่อแผลแห้งดี ก็ไม่ต้องใช้ผ้าก๊อซ และเล็บจะงอกกลับมาสวยเหมือนปกติประมาณ 2-3 เดือน
“Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางการรักษาหรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเล็บขบ ที่ทำให้คุณเจ็บปวดทรมานมาเป็นเวลานาน รักษาอย่างไรก็ไม่หายขาดสักที โดย พญ.มริญญา ผ่องผุดพันธ์ แพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ตจแพทย์ ที่มีประสบการณ์ในวงการการรักษาเฉพาะทางโรคผิวหนังมามากกว่า 15 ปี
ประสบการณ์การทำงาน พญ.มริญญา ผ่องผุดพันธ์
- อาจารย์พิเศษแผนกผิวหนัง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลรามาธิบดี
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลสมิติเวช
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ
ผ่านการศึกษาจาก (Education)
- Hair Restoration Training, Korea (2015)
- Thai Board of Dermatology, Ramathibodi Hospital (2013)
- Board of Dematopathology, Boston University, USA (2009)
- Master of Science in Dermatology, Boston University, USA (2006)
- Doctor of Medicine, Mahidol University (2001)
- Nail surgery training
- Laser expert training
- Hair expert training
- Boton university usa
ที่พร้อมจะทำให้คุณหมดกังวลเกี่ยวกับเรื่องเล็บขบให้หายขาดที่ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” คลินิกที่คุณ กิ๊ก – มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ และดารานักแสดง ต่างให้ความไว้วางใจ เลือกใช้บริการกับทาง “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” ของเรา หากคุณสะดวกหรือใกล้ที่สาขาไหนคุณสามารถเข้าไปปรึกษาได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้บริการคุณด้วยการบริการที่ดีที่สุด
เล็บขบ หายเองได้ไหม
การรักษาเล็บขบ ด้วยวิถีธรรมชาติ
เล็บขบ pantip
วิธีตัดเล็บขบ
เล็บขบเน่า
เล็บขบนิ้วมือ
เล็บขบเนื้อปูด
ยาแก้เล็บขบ
รักษาเล็บขบ ใกล้ฉัน
คลินิกเล็บขบ เชียงใหม่
คลินิกตัดเล็บขบ ใกล้ฉัน
คลินิกรักษาเล็บใกล้ฉัน
ร้านตัดเล็บขบ ใกล้ฉัน
คลินิกเล็บ ใกล้ฉัน
เล็บขบ หาหมอแผนกไหน
รักษาเล็บขบ pantip
|
เล็บขบ หายเองได้ไหม
การรักษาเล็บขบ ด้วยวิถีธรรมชาติ
วิธีตัดเล็บขบ
ยาแก้เล็บขบ
เล็บขบ pantip
ตัดเล็บขบออกไม่หมด
เล็บขบเน่า
เล็บขบเนื้อปูด
เล็บขบ หายเองได้ไหม
เล็บขบระยะแรก
การรักษาเล็บขบ ด้วยวิถีธรรมชาติ
เล็บขบ pantip
วิธีตัดเล็บขบ
เล็บขบนิ้วมือ
เล็บขบเนื้อปูด
ยาแก้เล็บขบ
|